OSI MODEL

wireless lan

ระบบเครือข่าย Wireless LAN คืออะไร ?


ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย หรือ Wireless LAN นั้นกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ง่าย และสะดวกรวดเร็วในการติดตั้ง ทั้งยังสามารถทำให้การเข้าถึงทรัพยากรขององค์กรนั้นทั่วถึงทุกหนทุกแห่ง เพราะเทคโนโลยี Wireless LAN ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งสายเคเบิล (Cable) ภายในตัวอาคาร ดังนั้น Wireless LAN จึงเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และค่อนข้างได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับองค์กรที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการติดตั้งสายเคเบิลภายในตัวอาคาร
การใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN นั้น จะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างน้อย 2 สิ่งด้วยกัน คือ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ (Access Point) และอุปกรณ์รับสัญญาณ (Wireless Card) ที่มี Interface ในการเชื่อมต่อแบบ PCMCIA

สำหรับการติดตั้งใช้งานระบบ Wireless LAN นั้น เราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ Access Point เข้ากับระบบเครือข่ายหลักของเราที่มีอยู่ และติดตั้งอุปกรณ์ Wireless Card เข้ากับเครื่อง Notebook/Laptop, Palm/PDA ทางช่อง PCMCIA Slot หรืออาจจะติดตั้งเข้ากับเครื่อง PC ก็ได้ ในกรณีที่เรามีอุปกรณ์ในการแปลง Interface ของ Wireless Card จาก PCMCIA เป็น Interface แบบ PCI แค่นี้เราก็สามารถใช้งานระบบเครือข่ายโดยผ่านเทคโนโลยี Wireless LAN ได้แล้ว

wireless lan

Wireless LAN คืออะไร


แลนไร้สายหรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)



นิยาม



ไวเลส (Wireless) คือ ไม่มีสาย ลองนึกภาพถึงแลนปกติที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลนนั่นเอง



แลน (LAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่ เช่นระบบแลนภายในบ้าน ในบริษัทหรือองค์กร ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น



มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตราฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร กัน เช่น



สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11a มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถึ่ย่าน 5 GHz



สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11b มีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz



สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11g มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz



ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ช่องคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่เสรี ที่ทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้ จึงทำให้ในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ที่จำหน่ายเพียงสองมาตราฐานคือ IEEE 802.11b และ g เท่านั้น